ค้นหาบล็อกนี้

วันอาทิตย์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2555

ไส้ติ่งมีไว้ทำอะไร

ไส้ติ่งของเรามีหน้าที่อะไร?
เป็นเวลาหลายปีที่เชื่อกันว่าไส้ติ่งนั้นมีหน้าที่ในทางสรีรศาสตร์น้อยมาก อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันเราพบว่าไส้ติ่งทำหน้าที่สำคัญในฟีตัส และผู้ใหญ่ที่อายุน้อย เซลล์คัดหลั่ง (endocrine cell) ที่อยู่ในไส้ติ่งของฟีตัสจะปรากฏขึ้นเมื่อฟีตัสมีอายุประมาณ 11 เดือน เซลล์ในไส้ติ่งของฟีตัสเหล่านี้ได้แสดงให้เห็นว่า มีการผลิตสารเอมีนที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต (biogenic amines) มากมาย และฮอร์โมนพวกเพปไทด์ (peptide hormones) ซึ่งเป็นสารประกอบที่ช่วยในควบคุมกระบวนการทางชีวภาพต่างๆ (homeostasis) และยังมีหลักฐานเล็กน้อยที่แสดงถึงบทบาทอื่นๆ ของไส้ติ่งในการวิจัยสัตว์ เนื่องจากเราจะไม่พบไส้ติ่งในสัตว์เลี้ยง
ในผู้ใหญ่ ปัจจุบันเชื่อว่าไส้ติ่งเกี่ยวข้องกับหน้าที่ทางภูมิคุ้มกัน

เนื้อเยื่อน้ำเหลือง (lymphoid tissue) เริ่มมีการสะสมในไส้ติ่งในช่วงเวลาสั้นๆ หลังจากเกิด โดยจะมีปริมาณมากที่สุดระหว่างอายุประมาณ 20-30 ปี หลังจากนั้นก็ลดลงอย่างรวดเร็วจนหายไปหลังจากอายุเกิน 60 ปี อย่างไรก็ตาม ในช่วงแรกของการเติบโต ไส้ติ่งมีหน้าที่เป็นอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับน้ำเหลือง ซึ่งช่วยให้ B lymphocyte พัฒนาได้เต็มที่ (B lymphocyte เป็นเม็ดเลือดขาวประเภทหนึ่ง) และช่วยในการผลิตแอนติบอดีประเภท immunoglobulin A (IgA)อีกด้วย นักวิจัยยังแสดงให้เห็นว่าไส้ติ่งเกี่ยวข้องกับการผลิตโมเลกุลที่ช่วยกำกับการเคลื่อนที่ของ lymphoidcyte ในหลายๆ ที่ของร่างกาย
ภาพตัดขวางของไส้ติ่ง
ในเรื่องนี้ หน้าที่ของไส้ติ่งจะช่วยเซลล์เม็ดเลือดขาวพบกับสารแปลกปลอม (antigen) ที่อยู่ตามในทางเดินอาหาร

ดังนั้น เป็นไปได้ว่าไส้ติ่งจะช่วยระงับผลของแอนติบอดีในการทำลายสารแปลกปลอมเหล่านั้น แต่จะสร้างภูมิคุ้มกัน (local immunity)ขึ้นมาแทน โครงสร้างขนาดเล็กที่มีลักษณะคล้ายไส้ติ่งที่เรียกว่า Peyer's patches ในพื้นที่ส่วนอื่นของทางเดินอาหารจะดึงแอนติเจนกลับจากลำไส้ในปริมาณหนึ่งและเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของแอนติเจนเหล่านั้น ระบบภูมิคุ้มกันแบบนี้มีบทบาทสำคัญทางด้านการตอบสนองของภูมิคุ้มกันในทางสรีรศาสตร์และในการควบคุมสิ่งแปลกปลอมเช่น อาหาร ยา จุลินทรีย์ และไวรัส (ถ้าปล่อยให้แอนติบอดีทำลายสิ่งแปลกปลอม สิ่งที่เรากินเข้าไปจะถูกทำลายทั้งหมด) ความเชื่อมโยงระหว่างปฏิกิริยาของภูมิคุ้มกันนี้กับโรคสำไส้อักเสบ (inflammatory bowel diseases) เช่นเดียวกับปฏิกิริยาของภูมิคุ้มกันที่ทำลายตัวเองยังอยู่ในขั้นตอนการศึกษา

ในอดีต ไส้ติ่งมักจะได้รับการผ่าออกและทิ้งไปเสมอ

เพื่อป้องกันความเป็นไปได้ใน การเกิดโรคไส้ติ่งอักเสบ (appendicitis) แต่ในปัจจุบัน ไส้ติ่งจะถูกเก็บไว้ใช้ในกรณีมีการผ่าตัดตกแต่งเมื่อกระเพาะปัสสาวะถูกผ่าออก ในการผ่าตัดดังกล่าว ส่วนของลำไส้จะใช้ทำเป็นกระเพาะปัสสาวะและไส้ติ่งจะนำมาทำกล้ามเนื้อหูรูด (sphincter muscle) ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยสามารถกลั้นน้ำปัสสาวะได้ นอกจากนั้น ไส้ติ่งยังนิยมใช้แทนท่อปัสสาวะชั่วคราวอีกด้วย ซึ่งจะปล่อยน้ำปัสสาวะไหลจากตับไปยังกระเพาะปัสสาวะอีกด้วย จะเห็นได้ว่า ไส้ติ่งถือเป็นส่วนสำคัญที่ใช้ในเทคการผ่าตัดตกแต่งหลายๆ แบบ และจะไม่ถูกตัดทิ้งจนกว่าจะเกิดอาการอักเสบ

ที่มา
คลิ้กที่นี่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น